Industry 4.0
เมื่อโซลูชันระบบอัตโนมัติกำลังเข้ามาขับเคลื่อนอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่เริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าสู่กระบวนการดำเนินงานแบบดิจิทัลตาม Concept ของ Industry 4.0 ผู้ผลิตควรปรับตัวอย่างไร ?
ตัวอย่างเช่น ในประเทศอิตาลี อุตสาหกรรมอาหารถือเป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ และมีการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพมากยิ่งขึ้นหากเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อว่า “Made in Italy”
เมื่อระบบอัตโนมัติถูกให้ความสำคัญมากขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารมากกว่าภาคผลิตอื่นๆ จึงทำให้เกิดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตมากขึ้น เพราะหากมีเครื่องจักรที่มีคุณภาพสูง ย่อมส่งผลถึงผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพด้วยเช่นกัน ซึ่งจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ และเป็นการพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืนอีกด้วย
ประสิทธิภาพการผลิตเป็นสิ่งที่ท้าทาย
อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรที่เป็นระบบอัตโนมัติระดับสูงและเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในตลาดเสมอมา ด้วยการผสานการทำงานร่วมกันระหว่างโลกดิจิทัลและโลกความจริง โดยใช้ IIoT เป็นตัวเชื่อมต่อที่ช่วยในเรื่องของประสิทธิภาพ การพัฒนา และข้อมูล ทั้งที่ก่อนหน้านี้ยังต้องใช้ระบบอะนาล็อกที่มีขั้นตอนแสนยุ่งยาก ได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นโซลูชันดิจิทัลและ Cloud แทนในยุค Industry 4.0 นี้
ซึ่งการเพิ่มความฉลาดให้กับเครื่องจักร ทำให้ผู้ผลิตสามารถบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ได้ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ปัญหาและวางแผน มากกว่าการตอบสนองในการบำรุงรักษา ทำให้ความท้าทายนี้จึงมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพการผลิตมากกว่าด้าน Performance ยกเว้นแต่ในบางกรณีเท่านั้น
ซึ่งโชคดีที่มีเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ และการเชื่อมต่อที่ไม่เคยมีมาก่อนกำลังทำให้เป้าหมายนี้เป็นจริงได้ โดยในตอนนี้ บริษัทส่วนใหญ่ต่างอยู่ในขั้นตอนของการพิสูจน์แนวคิด โดยมีการลงทุนในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจได้ โดยมีเทคโนโลยี AI และกระบวนการอัตโนมัติที่เข้ามาปรับเปลี่ยนกระบวนการเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
โซลูชันระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ
เมื่อธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มมีการแข่งขันสูง ทำให้นวัตกรรมต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ Smart Factory ถูกนำไปใช้ และทำให้เกิดข้อดีหลายประการในการผลิต จึงทำให้เกิดการลงทุนในเทคโนโลยีเหล่านี้ เพื่อตอบสนองต่อการแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ ซึ่งผู้ผลิตมักต้องการทั้งการเชื่อมต่อเครือข่ายและการทำให้เครื่องจักรมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานร่วมกับโซลูชันอัตโนมัตินี้ได้ ภายใต้ความปลอดภัยที่มากขึ้น
โดยสรุปแล้ว Industry 4.0 คือการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งนำไปสู่การสื่อสารระหว่างเครื่องจักร การจัดการและควบคุมการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการพัฒนานี้จะไม่เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน แต่เป็นการใช้เวลานานหลายปีกว่าจะบรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์ แต่ก็มีอุตสาหกรรมหลายแห่งที่เริ่มต้นแล้วในตอนนี้ แล้วคุณล่ะ? พร้อมเดินทางหรือยัง!!
แปลและเรียบเรียงข้อมูลจาก : https://www.iiot-world.com/industrial-iot/connected-industry/industry-4-0s-impact-on-the-food-beverage-industry/