การตั้งค่า RUT Device ให้เป็น Modbus RTU Master

modbus RTU master

MODBUS RTU คืออะไร?

MODBUS RTU คือ โปรโตคอล MODBUS เป็นการสื่อสารข้อมูลในลักษณะ Master/Slave ซึ่งเป็นการสื่อสารจากอุปกรณ์แม่ (Master) เครื่องเดียวส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ลูก (Slave) ได้หลาย ๆ เครื่อง โดยสามารถกำหนดหมายเลขอุปกรณ์ได้สูงสุด 255 เครื่อง โดยมีลักษณะการส่งข้อมูล 2 แบบ คือ ข้อมูลแบบแอสกี (ASCII) และข้อมูลแบบเลขฐานสอง (Binary) ในโปรโตคอล MODBUS ที่สื่อสารข้อมูลแบบ ASCII จะเรียก MODBUS ASCII และโปรโตคอล MODBUS ที่สื่อสารข้อมูลแบบเลขฐานสอง จะเรียก MODBUS RTU ทำให้มีความแตกต่างในการกำหนดค่าพอร์ตสื่อสาร
เฟรมข้อมูลในโหมด RTU ประกอบด้วยข้อมูลแสดงตำแหน่งแอดเดรส 1 ไบต์, หมายเลขฟังก์ชัน 1 ไบต์, ข้อมูลที่ทำการรับส่งจำนวนมากสุดไม่เกิน 252 ไบต์ และรหัสตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบ CRC (Cyclical Redundancy Checking) ขนาด 2 ไบต์ ค่า CRC นี้เป็นค่าที่คำนวณมาจากข้อมูลทุกไบต์ ไม่รวมบิต Start, Stop และ Parity Check โดยที่ตัว Slave ตัวที่ส่งข้อมูลออกมาจะสร้างรหัส CRC แล้วส่งตามท้ายไบต์ข้อมูลออกมา หลังจากนั้นเม่อ Master ได้รับเฟรมข้อมูลและถอดข้อมูลออกจากเฟรมแล้วจะทำการคำนวณค่า CRC ตามสูตรเดียวกับ Slave เพื่อทำการเปรียบเทียบค่า CRC ทั้ง 2 ค่าว่าตรงกันหรือไม่ หากไม่ตรงกันแสดงว่าเกิดความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลในโหมด RTU การรับส่งข้อมูล 1 ไบต์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนใดภายในเฟรมจะต้องทำการส่งบิตข้อมูลรวม 11 บิต คือ บิตเริ่มต้น (Start) 1 บิต, บิตข้อมูล 8 บิต, บิตตรวจสอบ Parity ของข้อมูล 1 บิตและบิตหยุด 1 บิต (Stop) 1 บิต หรือหากเลือกแบบไม่มีบิต Parity ก็จะเป็นแบบ Stop แทน 2 บิต สำหรับการกำหนดให้มีบิต Parity นั้น สามารถเลือกเป็นแบบคู่ (Even Parity) หรือคี่ (Odd Parity) ก็ได้ และหากต้องการออกแบบให้สอดคล้องกับอุปกรณ์ที่มีใช้กันทั่วไปมากที่สุด ควรเลือกแบบคู่โดยที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นแบบคี่หรือไม่มีการตรวจสอบ Parity (No Parity) ได้ด้วย

การตั้งค่า MODBUS RTU MASTER

การ Configuration Teltonika RUT955 อ่านค่าจาก Modbus RS485 Device สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้

1. ไปที่แถบ Menu Service เลือก Modbus

modbus RTU master

2. อุปกรณ์ Modbus Sensor ที่ใช้ในการอ่านค่าในครั้งนี้เป็น Modbus Serial RS485 ดังนั้น เลือกแถบ Menu Modbus Serial Master>>RS485

modbus RTU master

3. ในส่วนแรก RS485 configuration ตั้งค่า RS485 parameter ให้ตรงกับ Modbus Device ที่ต้องการอ่านค่า

modbus RTU master 3

4. Add new slave device เป็นการเพิ่ม Modbus slave device เพื่ออ่านค่า โดยการใส่ Slave ID หรือ Modbus ID ของ Modbus Devic ที่ต้องการอ่านค่า แล้วคลิก Add

modbus RTU master 4

5. Slave device configuration เป็นการตั้งค่า Timeout และความถี่ในการอ่านค่า ต้องทำการ Enable ไว้ด้วย

modbus RTU master

6. Requests Configuration>>Add เป็นการ Add Address ของ Modbus data ที่ต้องการอ่านค่า

modbus RTU master

7. เมื่อ add แล้วจะมี หัวข้อใหม่เกิดขึ้น ให้ใส่ค่าต่างๆ

  • name ชื่อ data ที่เรากำหนดเอง
  • Data type ชนิดข้อมูลที่อุปกรณ์ส่งมา
  • Function คือ Function Code ที่เก็บข้อมูล
  • First Register คือ Address เริ่มต้นข้อมูล(เช่นอุปกรณ์ Sensor วัดค่า อุณหภูมิและความชื่น เก็บค่าไว้ที่ address 30001 30002 เป็นต้น First register คือ 1 และ register count คือ 2 เป็นต้น)
  • Address สุดท้าย
  • Click Enabled และกด Save
modbus RTU master 7

8. เมื่อกด save และออกไปที่หน้า Add new slave device และจะพบว่าที่หัวข้อ RS485 slave device’s list มีอุปกรณ์ที่เราได้เพิ่มเข้าไปเกิดขึ้น เข้าที่ Edit เพื่อทำการทดสอบว่าสามารถเชื่อมต่อกับ อุปกรณ์ได้หรือไม่

modbus RTU master 8

9. เมื่อกดที่ Edit แล้วจะเข้ามาที่หน้าต่าง Advanced device settings ให้เราเลือกที่ Test หากสามารถอ่านข้อมูลได้ข้อมูลจะแสดงในหน้าต่างด้านล่าง จากนั้นให้ save อีกครั้ง เป็นอันเสร็จสิ้น

modbus RTU master

related products

Router Logo

RUT955

Industrial 4G/LTE Wi-Fi router RS232/RS485

DL 100T485CR Data Logger 01 126049

DL-100T485 CR

Logger/DCON/Temp./Humidity/RS-485/LCD/IP66