Serial Over IP คืออะไร
Serial หรือ อนุกรม คือรูปแบบของการส่งข้อมูล โดยการส่งข้อมูลแบบอนุกรม (Serial) จะเ็นการส่งข้อมูลไปทีละบิตผ่านสายสัญญาณ ข้อดีของการส่งสัญญาณแบบอนุกรมคือใช้สายสัญญาณน้อยแต่ก็มีข้อเสียในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลเช่นกัน
รูปแบบการรับส่งข้อมูลแบบ อนุกรม (Serial) สามารถแบ่งตามลักษณะได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1. การสื่อสารแบบซิงโครนัส (Synchronous) คือการรับส่งข้อมูลเป็นชุด ครั้งละหลายๆbyte ใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวควบคุมจังหวะ
2. การสื่อสารแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous) การรับส่งข้อมูลแบบนี้ใช้มากบนเครื่องคอมพิวเตอร์ รูปแบบการสื่อสารจะทำการรับส่งข้อมูลครั้งละ byte ตัวอย่างโปรโตคอลแบบ Asynchronous ได้แก่ Rs-232, USB, Serial ATA เป็นต้น
ความเร็วในการสื่อสาร
ความเร็วในการสื่อสาร หรือที่เราคุ้นกันอีกชื่อคือ Baud rate หมายถึงอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล bit ต่อวินาที โดยปกติจะมีค่า 1200 2400 4800 9600 19200 bit/sec ทั้งตัวรับและต้องส่งจำเป็นที่ต้องกำหนดค่า baud rate ให้เท่ากันด้วย
ความยาวสายเคเบิล RS232
อัตราความเร็ว Bit/sec | ความยาวสายสูงสุด (เมตร) |
---|---|
2400 | 914 |
4800 | 304 |
9600 | 152 |
19200 | 15 |
Serial Over IP คือการแปลงสัญญาณจาก Serial port ทั้งแบบ RS232 หรือ RS485 ซึ่งเป็นสัญญาณแบบอนุกรมไปเป็นสัญญาณในรูปแบบของ IP/TCP ซึ่งทำให้สามารถส่งข้อมูลที่รับมาจาก Serial port ส่งไปผ่านไปยัง Network ได้
การใช้งาน Serial Over IP ช่วยให้เราสามารถสื่อสารข้อมูลหรือควบคุมอุปกรณ์ Serial Device ผ่านระบบ Network จากระยะไกล ยกตัวอย่างเช่น การนำอุปกรณ์ Teltonika Network ที่มีช่องเชื่อมต่อแบบ RS232/RS485 และรองรับการทำ Serial Over IP ไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Serial deivce เพื่อส่งค่าข้อมูลไปยัง Network
ข้อดีของการส่งข้อมูล Serial Oer IP คือการลดข้อจำกัดของระยะการส่งข้อมูลผ่านสาย Cable โดยสามารถส่งข้อมูลได้ไกลขึ้น หรือสามารถส่งข้อมูลไปอีก site ได้ผ่าน Internet
ตัวอย่างการตั้งค่า Serial Over IP สำหรับอุปกรณ์ Teltonika
ไปที่หน้าตั้งค่าของ Teltonika
เลือกเมนู Service > RS232 หรือ RS485
เลือก Enable
- ตั้งค่า Buad rate ให้ตรงกับอุปกรณ์ตัวอื่น
- Serial type เลือกเป็น Over IP
- Protocol เลือกเป็น TCP หรือ UDP
Mode ให้เลือกระหว่าง Server หรือ Client ขึ้นอยู่กับหน้าที่ของอุปกรณ์